วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558
อาหารพื้นเมืองจังหวัดพะเยา
อาหารพื้นเมือง
แกงเห็ดห้า
ยำฮก
คั่วถั่วเน่า
ยำจิ้น
ลาบจิ๊นหมู
แกงผักหม (แกงผักโขม)
แกงเห็ด
ไข่ป่าม
แหล่งที่มา
http://www.phayao108.com/tag/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%8B%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AE%E0%B8%B2/
ศิลปวัฒนธรรม และ ประเพณี
ศิลปวัฒนธรรม / ประเพณี
ประเพณีไหว้พระธาตุดอยจอมทองวันเเพ็ญเดือน 4 ทุกปี ชาวพะเยาพร้อมใจกันทำบุญไหว้พระธาตุดอยจอมทอง เพราะความเลื่อมใส
ศรัทธา
ประเพณีไหว้พระเจ้าตนหลวงเป็นประเพณีที่ผู้คนมากราบไหว้พระเจ้าตนหลวงอย่างล้นหลาม เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว ในวันเพ็ญเดือน 6 ประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี
ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำเป็นพิธีขอน้ำขอฝน จากผีประจำขุนเขาที่เป็นต้นน้ำ เพราะเป็นเวลาที่ใกล้จะหว่านข้าวกล้า จะทำในวันปากปีของสงกรานต์เมืองเหนือ วันที่ 16 เมษายน ของทุกปี
ประเพณีไหว้พระธาตุวัดป่าแดง-บุญนาคเป็นประเพณีที่ชาวพะเยา จะพากันทำบุญตักบาตรสวดมนต์ไหว้พระ เวียนเทียน รักษาศีลภาวนา ในวันเพ็ญเดือน 5 ของทุกปี
ประเพณีลอยกระทง (ประเพณียี่เป็ง)ตรงกับวันเพ็ญเดือนยี่เหนือ (เดือนพฤศจิกายน) ประเพณีนี้มี 2 วันคือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ เรียกว่า วันยี่เป็ง เป็นวันขอขมาต่อแม่น้ำคงคา ในช่วงเช้าจะเป็นการทำบุญตักบาตร และมีเทศน์มหาชาติฉบับล้านนา ตั้งแต่เช้ามืดจนถึงกลางคืนและกลางวัน จะมีการปล่อยโคมลอยขึ้นบนท้องฟ้า ซึ่งถือว่าเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศก กลางคืนจะมีการลอยกระทงเล็ก บริเวณรอบกว๊านพะเยา
งานประเพณีสลากภัตโดยจะเริ่มตั้งแต่ วันเพ็ญเดือนสิบสองเหนือ (เดือน 10) ประมาณเดือนกันยายน และจะสิ้นสุดในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ชาวบ้านจะนำเอาสิ่งของต่างๆ เช่น ข้าวสาร พริก หอม กระเทียม อาหารเป็นห่อนึ่ง ชิ้นปิ้ง (เนื้อย่าง) หมาก เมี่ยง บุหรี่ รวมใส่ในก๋วย (ตะกร้า) พร้อมกับยอด คือ สตางค์หรือธนบัตรผูกไว้ ซึ่งขึ้นอยู่กับกำลังศรัทธาและทรัพย์ของแต่ละครอบครัว
งานพิธีแห่เทียนเข้าพรรษาจะตรงกับวันอาสาฬหบูชา หรือวันเพ็ญเดือนแปด (เดือนกรกฎาคม) โดยคณะศรัทธาและหน่วยราชการทุกแห่ง จะรวมกันหล่อเทียนที่แกะสลักอย่างสวยงาม เพื่อนำมาร่วมเป็นขบวนแห่เทียนเข้าพรรษาของแต่ละปี มีการประกวดประชันความสวยงามของเทียน
พิธีเลี้ยงผีหนองเล็งทราย จะจัดขึ้นวันแรม 9 ค่ำ เดือน 9 เหนือ (เดือน 7) ของทุกปี ณ บริเวณหนองเล็งทราย อ. แม่ใจ ซึ่งถือเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ เพื่อสร้างจิตสำนึกของชาวบ้านให้รู้จักคุณค่าของแหล่งน้ำและช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีวันดอกคำใต้บาน
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี กลุ่มสตรีทุกระดับจะรวมพลังทำกิจกรรมร่วมกัน มีการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน การจำหน่ายผลผลิตพื้นบ้าน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สตรีทุกคนสำนึกในศักดิ์ศรีของสตรี
งานอนุสรณ์ผู้เสียสละ พ.ต.ท.2324จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรชนที่เสียสละชีวิตจากการต่อสู้ระหว่างประชาชน ข้า ราชการ ตำรวจ ทหาร กับพวกคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย งานจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 31 มกราคม ถึง 6 กุมภาพันธ์ บริเวณสนามบินทหาร โดยจะมีพิธีวางพวง มาลาอนุสรณ์ผู้เสียสละ
งานสืบสานตำนานไทยลื้อ จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนมีนาคม เพื่อส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไท ลื้อ ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของอำเภอเชียงคำ ในงานมีขบวนแห่วัฒนธรรมที่สวย งาม ในเขตเทศบาลเชียงคำ มีการจำหน่ายอาหารไทลื้อ การสาธิตพิธีกรรม ต่างๆ
งานสักการะบวงสรวง พ่อขุนงำเมือง เป็นการรำลึกถึงพ่อขุนงำเมือง กษัตริย์ที่ครองเมืองพะเยา ซึ่งในช่วงที่พระองค์ครองราชย์ บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข และได้ทรงร่วมกับพ่อขุนรามคำแหง มหาราช และพ่อขุนเม็งรายมหาราช สาบานเป็นพระสหายต่อกันที่เมืองพะเยา งานจัดขึ้นทุกวันที่ 5 มีนาคม ที่บริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองสวนสมเด็จย่า 90 โดยมีพิธีบวงสรวงแบบพราหมณ์ มีขบวนสักการะเทิดพระเกียรติ และการ แสดงวัตนธรรมล้านนา
งานเทศกาลลิ้นจี่ และของดีเมืองพะเยา จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ที่ตลาดกลางเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ อำเภอแม่ใจ ในงานมีมหรสพ การแสดง การประกวดธิดาชาวสวนลิ้นจี่ ประกวดลิ้นจี่พันธุ์ต่างๆ
แหล่งที่มา : http://www.baanjomyut.com/76province/north/prayao/costom.html
แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดพะเยา
กว๊านพะเยา
กว๊านพะเยา กว๊าน หมายถึง หนองน้ำหรือบึงน้ำขนาดใหญ่ คำนี้มีใช้ในท้องถิ่นล้านนาเฉพาะที่จังหวัดพะเยาแห่งเดียวเท่านั้น กว๊านพะเยา เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ รูปพระจันทร์เสี้ยวเกือบครึ่งวงกลม แหว่งทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกเมื่อประมาณ ๗๐ ล้านปีมาแล้ว โอบล้อมดอยแม่ใจซึ่งเป็นภูเขาสูงยาว เป็นแอ่งน้ำที่รวบรวมของลำห้วยต่างๆ ๑๘ สาย ต่อมาในปี ๒๔๗๘ กรมประมงได้ตั้งสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยาขึ้นบริเวณต้นแม่น้ำอิงและสร้างฝายกั้นน้ำทำให้เกิดเป็นบึงขนาดใหญ่ มีความลึกเฉลี่ย ๑.๕ เมตร กว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพะเยา เป็นทั้งแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดของภาคเหนือตอนบน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ ๑๒,๘๓๑ ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลากราย ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน ปลาไน รวมทั้งปลานิล อันลือชื่อของจังหวัดพะเยา ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีความร่มรื่น สามารถมองเห็นแนวทิวเขาสลับซับซ้อน งดงามมาก บริเวณริมกว๊านมีร้านอาหารและจัดเป็นสวนสาธารณะเหมาะที่จะไปนั่งเล่น พักผ่อนหย่อนใจในยามเย็น ชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊านเป็นภาพที่สวยงามมาก และมีบริการนั่งเรือพายชมทัศนียภาพในกว๊านพะเยา ค่าโดยสารเรือพายคนละ 20 บาท และมีการจัดกิจกรรมเวียนเทียนทางน้ำรอบวัดติโลกอารามกลางกว๊านพะเยา ซึ่งประดิษฐานหลวงพ่อศิลา อายุกว่า 500 ปี ในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชาอีกด้วย
อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง
อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน มีพื้นที่ทั้งหมด 462,775 ไร่ พื้นที่ประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังภายในอุทยานฯ มีสัตว์หลายชนิด เช่น ตะพาบน้ำ ตะกวด นกชนิดต่างๆ โดยเฉพาะนกยูง นับเป็นอุทยานฯที่มีนกยูงมากที่สุดในภาคเหนือประมาณ 265 ตัว เป็นนกยูงเขียว (หรือนกยูงไทย) ชนิดพันธุ์ย่อยอินโดจีน ฤดูผสมพันธุ์ของนกอยู่ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมของทุกปี
อุทยานแห่งชาติป่าแม่ปืม
อุทยานแห่งชาติป่าแม่ปืม ได้ดำเนินการสำรวจและจัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 มีพื้นที่อยู่ใน จังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 356 ตารางกิโลเมตร หรือ 222,500 ไร่ โดยมีพื้นที่ 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยปุย อ.เมือง จ.เชียงราย เนื้อที่ 67,500 ไร่
ส่วนที่ 2 อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปืมและป่าแม่พุง อ.พาน อ.ป่าแดง จ.เชียงราย อ.แม่ใจ อ.เมือง จ.พะเยา ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำแม่ปืม และป่าดงประดู่ อ.แม่ใจ อ.เมือง จ.พะเยา และป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ฮ่องป้อ ป่าห้วยแก้ว และป่าแม่อิงฝั่งซ้าย กิ่ง อ.ภูกามยาว จ.พะเยา เนื้อที่ 248 ตารางกิโลเมตร หรือ 155,000 ไร่ พื้นที่ของอุทยานแห่งชาติแม่ปืมอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ประมาณ 220 ตารางกิโลเมตร หรือ 137,431 ไร่ และอยู่ในพื้นที่จังหวัดพะเยา ประมาณ 136 ตารางกิโลเมตร หรือ 85,069 ไร่ ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติป่าแม่ปืมอยู่ระหว่างการดำเนินการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
ส่วนที่ 1 อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยปุย อ.เมือง จ.เชียงราย เนื้อที่ 67,500 ไร่
ส่วนที่ 2 อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปืมและป่าแม่พุง อ.พาน อ.ป่าแดง จ.เชียงราย อ.แม่ใจ อ.เมือง จ.พะเยา ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำแม่ปืม และป่าดงประดู่ อ.แม่ใจ อ.เมือง จ.พะเยา และป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ฮ่องป้อ ป่าห้วยแก้ว และป่าแม่อิงฝั่งซ้าย กิ่ง อ.ภูกามยาว จ.พะเยา เนื้อที่ 248 ตารางกิโลเมตร หรือ 155,000 ไร่ พื้นที่ของอุทยานแห่งชาติแม่ปืมอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ประมาณ 220 ตารางกิโลเมตร หรือ 137,431 ไร่ และอยู่ในพื้นที่จังหวัดพะเยา ประมาณ 136 ตารางกิโลเมตร หรือ 85,069 ไร่ ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติป่าแม่ปืมอยู่ระหว่างการดำเนินการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง
อดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาวลำดับที่ 9 ระหว่างปี พ.ศ. 1801 - 1841 เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองมาก ประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา (สวนสมเด็จย่า 90) หน้ากว๊านพะเยา เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพ่อขุนเม็งรายแห่งเมืองเชียงราย และพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามพระองค์ได้กระทำสัตย์ต่อกัน ณ บริเวณแม่น้ำอิง ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณสถานีประมงน้ำจืดพะเยา พ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์กล่าวกันว่าเมื่อพระองค์เสด็จไปทางไหน แดดก็บ่อฮ้อน ฝนก็บ่อฮำ จักให้แดดก็แดด จักให้บดก็บด จึงได้พระนามว่างำเมือง
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า
จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยเริ่มจากการบุกเบิกพื้นที่พัฒนาที่ดินจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำจัดสรรพื้นที่ทำกินให้แก่ราษฎรเพื่อยุติการบุกทำลายป่าไม้จากนั้นส่งเสริมการปลูกไม้ผลเมืองหนาว โดยในช่วงแรกมีการแนะนำให้เกษตรกรในพื้นที่ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าเย้าและม้งปลุกสาลี่พลับ อโวคาโดและถั่วแดงหลวงพื้นที่เป็นภูเขาและเนินเขา อุณหภูมิเฉลี่ย 25.8 องศาเซลเซียส
วัดศรีโคมคำ
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า วัดพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 16 เมตร สูง 18 เมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034 - 2067 พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย ในวันวิสาขบูชามีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวงเป็นประจำทุกปีเรียกว่างานประเพณีนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง บริเวณวัดยังมีพระอุโบสถกลางน้ำตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ลวดลายวิจิตรสวยงาม วาดโดย อาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ
วัดพระธาตุจอมทอง
วัดพระธาตุจอมทอง ตั้งอยู่บนดอยจอมทอง ห่างจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร อยู่ตรงข้ามวัดศรีโคมคำ มีทางรถยนต์ขี้นไปถึงยอดเขา เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปนมัสการเจดีย์พระธาตุจอมทองซึ่งเป็นปูชนียสถานโบราณคู่เมืองพะเยา บริเวณโดยรอบมีป่าไม้ปกคลุม เป็นสวนรุกขชาติมองเห็นตัวเมืองและกว๊านพะเยาได้โดยรอบ
วัดติโลกอาราม
เป็นวัดร้างที่จมอยู่ใต้น้ำในกว๊านพะเยา แต่เดิมเป็นเนินสันธาตุท้ายหมู่บ้านร่องไฮ ตำบลแม่ใส อำเภอเมืองพะเยา ต่อมาถูกน้ำกัดเซาะและได้พังทลายลงเป็นกองอิฐอยู่ใต้น้ำ จากหลักศิลาจารึกที่ค้นพบในบริเวณนี้ทำให้ทราบว่า วัดติโลกอารามสร้างขึ้นโดยพระเจ้าติโลกราช มหากษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ระหว่าง พ.ศ.2019-2031 มีโบราณวัตถุสำคัญ คือ พระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อศิลา ค้นพบเมื่อปี 2526 ชาวบ้านได้นำขึ้นจากน้ำมาประดิษฐานไว้ที่วัดศรีอุโมงค์คำในตัวเมืองพะเยา ต่อมาจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้บนแท่นกลางน้ำบริเวณที่ตั้งของวัดติโลกอารามในปัจจุบัน ในวันมาฆบูชา วิสาขบูชา และอาสาฬหบูชา จะมีพิธีเวียนเทียนกลางน้ำ มีเรือพายนับร้อยลำจุดเทียนสว่างไสวไปเวียนเทียนรอบแท่นประดิษฐานหลวงพ่อศิลาในกว๊านพะเยา นับเป็นประเพณีหนึ่งเดียวในโลกที่ไม่เหมือนใคร
การเดินทาง จากท่าเรือกว๊านพะเยาที่ถนนชายกว๊านในตัวเมืองพะเยา มีเรือพายบริการไปยังบริเวณที่ตั้งของวัดติโลกอารามเพื่อสักการะหลวงพ่อศิลา ค่าบริการคนละ 20 บาท มีชูชีพสวมเพื่อความปลอดภัย ให้บริการระหว่างเวลาประมาณ 8.00 - 17.00 น. ใช้เวลาเดินทางไป-กลับประมาณ 20 นาที
วนอุทยานภูลังกา
สัมผัสทะเลหมอก ดอกไม้ป่า พิชิตภูลังกา ภูนม ชมอาทิตย์ขึ้นลง เข้าดงก่อโบราณ กังวาลเสียงนก น้ำตกสวยใส ประทับใจดอกโคลงเคลงดอยภูลังกา ภาษาชาวเขาเผ่าเมี่ยน เรียกว่า "ฟินจาเบาะ" หมายความว่า "ภูเทวดา" เป็นยอดดอยที่สวยงามมีความสูง 1,720 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง สูงที่สุดในเทือกเขาสันปันน้ำ ไทย-ลาว ด้านทิศเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 7,800 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลผ่าช้าง อ.ปง จ.พะเยา สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นป่าดิบเขา เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำยม มีต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมากชมทะเลหมอกดวงอาทิตย์ขึ้นลง และดอกไม้ป่าสวยงาม โดยเฉพาะในช่วงปลายฝนต้นหนาว มีถ้ำหลบภัยของ ผกค.ในอดีต มีน้ำตกสวยงาม
อุทยานแห่งชาติภูซาง
อุทยานแห่งชาติภูซาง ตั้งอยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอภูซางจังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ทั้งหมด 178,123 ไร่พื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่มีค่า ได้แก่ไม้ยาง ไม้ตะเคียน จำปีป่า ยมหอม ประดู่ สัก และรัง เป็นต้นอุทยานแห่งชาติภูซางยังเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำลำธารที่สำคัญของจังหวัดพะเยา
อุทยานแห่งชาติภูซางมีน้ำตกที่มีน้ำอุ่น 33 องศาเซลเซียสยังมีสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆอีก เช่น ถ้ำต่างๆ มีหินงอกหินย้อยตระการตาและมีน้ำไหลลอดผ่านตลอดทั้งถ้ำ ระดับน้ำลึกประมาณ 1 เมตร และมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ
น้ำตกห้วยชมพู
น้ำตกห้วยชมพูเป็นน้ำตกที่มีสีสวยงามตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในช่วงเดือน กันยายน - ธันวาคม จะพบกับพันธุ์ไม่นานาชนิด ป่าเขาลำเนาไพร และดอกไม้ตามธรรมชาติ ที่สวยงาม ชมทะเลหมอกที่ยอดดอย ชมพระอาทิตย์ตกดินที่สวยงาม ชมถ้ำมหัศจรรย์ มากกว่า 10 แห่ง ( ถ้ำผนแสนห่า ถ้ำป่องเปลว บ่อน้ำทิพย์มหัศจรรย์ ถ้ำกิ่วส้าน หรือถ้ำโจร ถ้ำผาสลอน ท่าผ้าขาว ถ้ำผาตูบ ถ้ำพันกานต์ เป็นต้น
ถนนดอกไม้
เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์จากอำเภอดอกคำใต้ไปจนถึงอำเภอจุน จังหวัดพะเยาจะเห็นดอกทองกวาวบานอยู่สองข้างทางในช่วงเวลาเช้าและเย็น
ของถนนเส้นนี้มีระยะทางราว 20 กิโลเมตรนับจากกิโลเมตรที่ 5 เป็นต้นไปเป็นถนนสายดอกไม้ที่บานสวยที่สุดและยังเป็นจุดชมวิวที่มีสีสันตระการตา ดอกทองกวาว (Butea monosperma) มีสีแสดซึ่งมองเห็นเด่นชัดไปไกลสุดสายตา
ของถนนเส้นนี้มีระยะทางราว 20 กิโลเมตรนับจากกิโลเมตรที่ 5 เป็นต้นไปเป็นถนนสายดอกไม้ที่บานสวยที่สุดและยังเป็นจุดชมวิวที่มีสีสันตระการตา ดอกทองกวาว (Butea monosperma) มีสีแสดซึ่งมองเห็นเด่นชัดไปไกลสุดสายตา
อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง
อุทยานแห่งชาติดอยภูนางตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน มีพื้นที่ทั้งหมด462,775 ไร่ พื้นที่ประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อนสภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง
อุทยานแห่งชาติดอยภูนางมีสถานที่ที่น่าสนใจและยังเป็นอุทยานที่สำคัญอีกที่หนึ่งเพราะมีสัตว์ต่างๆอาศัยอยู่เช่น ตะพาบน้ำ ตะกวด นกชนิดต่างๆ โดยเฉพาะนกยูงนกยูงฝูงนี้จะเดินทางระหว่างแก่งเสือเต้น (อุทยานแห่งชาติแม่ยม)และอุทยานแห่งชาติภูนาง โดยมาที่นี่ในฤดูผสมพันธุ์ที่นี่ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมของทุกปีใกล้กับที่ทำการอุทยานฯมีทางเดินเท้าจากที่ทำการไปยังน้ำตก 300 เมตรมีชื่อว่าน้ำตกธารสวรรค์ มีความกว้างของน้ำตกถึง 40 เมตร มีร้านค้าไว้บริการถ้าต้องการจะพักค้างแรมที่อุทยานแห่งชาติภูนางก็ให้นำเต๊นท์ไปด้วย
อุทยานแห่งชาติดอยภูนางมีสถานที่ที่น่าสนใจและยังเป็นอุทยานที่สำคัญอีกที่หนึ่งเพราะมีสัตว์ต่างๆอาศัยอยู่เช่น ตะพาบน้ำ ตะกวด นกชนิดต่างๆ โดยเฉพาะนกยูงนกยูงฝูงนี้จะเดินทางระหว่างแก่งเสือเต้น (อุทยานแห่งชาติแม่ยม)และอุทยานแห่งชาติภูนาง โดยมาที่นี่ในฤดูผสมพันธุ์ที่นี่ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมของทุกปีใกล้กับที่ทำการอุทยานฯมีทางเดินเท้าจากที่ทำการไปยังน้ำตก 300 เมตรมีชื่อว่าน้ำตกธารสวรรค์ มีความกว้างของน้ำตกถึง 40 เมตร มีร้านค้าไว้บริการถ้าต้องการจะพักค้างแรมที่อุทยานแห่งชาติภูนางก็ให้นำเต๊นท์ไปด้วย
โบราณสถานเวียงลอ
โบราณสถานเวียงลอ (เมืองพระลอ) อยู่ห่างจากอำเภอจุนตามทางหลวงหมายเลข 1021 ถึงบ้านห้วยงิ้ว ประมาณ 17 กิโลเมตรมีทางแยกไปเป็นทางดินถึงบ้านน้ำจุนอีกประมาณ 12 กิโลเมตรนักโบราณคดีสันนิษฐานว่าคงเป็นเมืองในสมัยพ่อขุนงำเมืองเพราะปรากฏซากกำแพงเมืองเก่า วัดร้าง อยู่มากมาย พระธาตุและวัดเก่าแก่คือวัดศรีปิงเมือง และใกล้เวียงลอนี้ยังเป็นจุดที่ลำน้ำจุน ไหลลงสู่แม่น้ำอิงด้วย จึงเรียกบริเวณนี้ว่า “สบอิง”
วัดพระธาตุสบแวน
วัดพระธาตุสบแวน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 4 กิโลเมตร มีองค์พระธาตุเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่มากคาดว่าอายุราว 800 ปี ภายในบรรจุเส้นพระเกศา และกระดูกส่วนคางของพระพุทธเจ้าองค์พระธาตุได้รับการบูรณะมาแล้วหลายครั้งแต่ยังคงรักษาสภาพศิลปะแบบล้านนาไทยไว้ได้
แหล่งที่มา
http://www.unseentravel.com/province/43/1
ข้อมูลที่ตั้งจังหวัดพะเยา
จังหวัดพะเยา
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพะเยา เป็นที่นสบสูงและภูเขา มีระดับความสูงตั้งแต่ 300-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล
มีเทือกเขาอยู่ทางทิศตะวันตก ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้และตอนกลางของพื้นที่จังหวัด มีเนื้อที่ประมาณ 6,335.06 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,959,412 ไร่ มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นลำดับที่ 15 ของภาคเหนือ และมีพื้นที่ป่าไม้ (จากภาพถ่ายดาวเทียม ปี 2542) ประมาณ 1,503,174 ไร่ หรือร้อยละ 37.96 ของพื้นที่จังหวัด สภาพเป็นป่าดงดิบและป่าไม้เบญจพรรณ ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้ยาง ไม้เต็ง ไม้รัง ฯลฯ จังหวัดพะเยามีพื้นอยู่ทั้งในที่ลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนที่อยู่ในลุ่มน้ำโขง คือพื้นที่อำเภอเมือง อ.ดอกคำใต้ อ.จุน อ.ปง(บางส่วน) อ.เชียงคำ และ อ.แม่ใจ ส่วนที่อยู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือ อ.ปง และ อ.เชียงม่วน ซึ่งเป็นต้นกำหนิดของแม่น้ำยม เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ ดอยภูลังกา ดอยสันปันน้ำ ดอยแม่สุก ดอยขุนแม่แฝก ดอยขุนแม่ต๋ำ ดอยขุนแม่ต๋อม ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดเชียงราย ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดแพร่ น่าน และลำปาง ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดลำปาง และเชียงราย ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ลาว และ น่าน |
ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดและคำขวัญประจำจังหวัด
ตราสัญญาลักษณ์ ประจำจังหวัด
คือ : รูปพระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ รูปพระเจ้าตนหลวง ความหมาย วัดศรีโคมคำ หมายถึง พระพุทธรูปคู่เมือง อันเป็นหลักรวมใจของชาวพะเยา ลายกนกเปลวบนพื้นเบื้องหลังองค์พระพุทธรูป หมายถึง ความรุ่งเรืองของ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่ใจ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอเชียงคำ และอำเภอเชียงม่วน ( เป็น 7 อำเภอแรก เมื่อครั้งที่ได้รับการยกฐานะจากอำเภอพะเยาเป็นจังหวัดพะเยา ) เบื้องล่างริมของดวงตราเป็นกว๊านพะเยา ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี และมีช่อรวงข้าวประกอบอยู่ทั้งสองข้าง ซึ่งหมายถึงลักษณะของความเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ
คำขวัญ
กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม
ต้นไม้ประจำจังหวัด
ต้นสารภี
ดอกไม้ประจำ
ดอกสารภี
แหล่งที่มา : http://www.baanjomyut.com/76province/north/prayao/
ประวัติจังหวัดพะเยา
ประวัติเมืองพะเยา
พะเยาเป็นเมืองประวัติศาสตร์เดิมมีชื่อว่า"เมืองภูกามยาวหรือพยาว"เคยมีเอกราชสมบูรณ์มีกษัตริย์ปกครองสืบราชสันตติวงศ์มาปรากฎตามตำนานเมืองพะเยา
ดังนี้พุทธศักราช ๑๖๐๒ (จุลศักราช๔๒๑) พ่อขุนเงินหรือลาวเงินกษัตริย์ผู้ครองนครเงินยางเชียงแสนได้ให้ขุนจอมธรรมโอรสองค์ท ี่ ๒ ให้ปกครองเมืองภูกามยาว ซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ขุนจอมธรรมครองเมืองภูกามยาวได ้๒๔ ปี ก็สิ้นพระชนม์ขุนเจื่องโอรสได้ขึ้นครองราชย์แทนใน ขณะครองเมืองได้รวบรวมลี้พลไปช่วยเมือง
นครเงินยาง ของขุนชินผู้เป็นลุงจนรอดพ้นจากการรุกรานของแกวหรือญวนได้สำเร็จ ขุนชินทรงโสมนัสยิ่งนักจึงยกธิดาชื่อ พระนางอั๊วคำ สอนให้และสละราชสมบัติ
ให้แก่ขุนเจื่องเมื่อขุนเจื่องได้ครองเมืองเงินยางแล้วจึงให้โอรสชื่อว่า"ลาวเงินเรือง"ขึ้นครองเมืองพะเยาแทนท้าวลาวเงินเรืองครองเมืองพะเยาได้๑๗ปีก็สิ้นพระชนม ์
ขุนแดงโอรสครองราชย์ต่อมาเป็นเวลา๗ ปีขุนชองซึ่งเป็นน้าก็แย่งราชสมบัติและได้ครองเมืองพะเยาประมาณ ๒๐ปีและมีผู้ครองราชย์สืบต่อมาจนถึงพระยางำเมือง
กษัตริย์เมืองพะเยาองค์ที่๙ซึ่งเป็นราชบุตรของพ่อขุนมิ่งเมือง เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ ชันษาพระบิดาส่งไปศึกษาที่สำนักสุกันตฤาษีเมืองลพบุรี จึงได้รู้จักกับพระร่วง
แห่งกรุงสุโขทัยโดยได้ศึกษาศิลปศาสตร์จากอาจารย์เดียวกันและทรงเป็นสหายกันตั้งแต่นั้นมา เมื่อเรียนจบก็เสด็จกลับเมืองพะเยาปีพุทธศักราช ๑๓๑๐ พ่อขุนมิ่ง
เมืองพระราชบิดา สิ้นพระชนม์จึงได้ขึ้นครองราชย์แทน ต่อมาพ่อขุนเม็งรายได้ยกทัพมาประชิดเมืองพะเยา พ่อขุนงำเมืองสั่งให้ไพร่พลอยู่ในความสงบและได้ให้
เสนาอำมาต ์ ออกต้อนรับโดยดีพระองค์ได้ยกเมืองชายแดนบางเมืองให้แก่พ่อขุนเม็งรายเพื่อเป็นการสงบศึกและทั้งสองพระองค์ยังได้ทำสัญญาเป็นมิตรต่อกันตลอด
ไปพระยาร่วงซึ่งเป็นสหายสนิทได้เสด็จมาเยี่ยมเยือนพ่อขุนงำเมืองเป็นประจำทุกปีและได้มีโอกาสรู้จักพ่อขุนเม็งรายทั้งสามพระองค์ทรงเป็นพระสหายสนิทกันมาก
ถึงกับได้หันหลังพิงกันพร้อมกับทำสัจจปฏิญาณ แก่กัน ณ ริมฝั่งแม่น้ำกู(แม่น้ำอิง) ว่าจะไม่ผูกเวรแก่กันจะเป็นมิตรสหายที่ดีต่อกันและได้กรีดโลหิตออกรวมกันในขัน
ผสมน้ำดื่มพร้อมกัน เมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๑๖ พ่อขุนงำเมืองสิ้นพระชนม์ลงขุนคำแดงและขุนคำลือได้สืบราชสมบัติต่อมาตามลำดับ ในสมัยขุนคำลือนี้เองที่เมือง
พะเยาต้องเสียเอกราชไปพระยาคำฟู แห่งนครชัยบุรีศรีเชียงแสนได้ร่วมกับพระยากาวเมืองน่านยกทัพมาตีเมืองพะเยาพระยาคำฟูตีเมืองพะเยาได้ก่อนและได้เกิดขัด
ใจกับพระยากาวทำให้เกิดการสู้รบพระยาคำฟูเสียทีจึงยกทัพกลับเชียงแสน เมืองพะเยาจึงได้รวมอยู่กับอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมาพุทธศักราช ๒๓๘๖ พระบาท
สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ให้เมืองพะเยาเป็นเมืองขึ้นของนครลำปางหลังจากนั้นก็ได้มีผู้ครองเมืองพะเยาต่อมาอีกหลายท่านจนถึงปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ ได้ยุบ
เลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองแล้วใช้ตำแหน่งนายอำเภอแทนพะเยาจึงมีฐานะเป็นอำเภอพะเยาต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ พะเยาจึงได้รับการยกฐานะ
จากอำเภอพะเยา ขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา
จากอำเภอพะเยา ขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา
เหล่งที่มา : http://www.phayao.go.th/history.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)